โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย
แม้ว่าโรคมะเร็งเต้านมจะพบบ่อยในเพศหญิง แต่ก็สามารถพบได้ในเพศชายเช่นเดียวกัน โอกาสแม้จะเพียงน้อยนิด แต่ก็หมายความว่าข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาก็มีจำกัดเช่นเดียวกัน จึงต้องอ้างอิงการวินิจฉัยและการรักษาใกล้เคียงกันกับโรคมะเร็งเต้านมในเพศหญิง
บทนำ
แม้เรามักเข้าใจว่ามะเร็งเต้านมนั้นเป็นโรคที่มีผลเฉพาะกับผู้หญิง แต่แท้จริงแล้วผู้ชายก็สามารถเกิดเป็นโรคนี้ขึ้นได้เช่นเดียวกัน
โรคนี้พบในผู้ชายน้อยกว่าผู้หญิงอย่างมาก โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ที่เป็นเพศชายเพียง 1 รายต่อเพศหญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมทุกๆ 100,000 คน
เซลล์มะเร็งจะเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อเต้านมจำนวนเล็กน้อยที่มีอยู่ใต้หัวนมของผู้ป่วยเพศชาย โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดคือก้อนที่แข็งและไม่เจ็บปวดในหน้าอก
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของก้อนเต้านมมักเกิดจากภาวะเต้านมโตในผู้ชาย (gynaecomastia) ซึ่งจัดเป็นความผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็งซึ่งเนื้อเยื่อเต้านมของผู้ชายจะขยายใหญ่ขึ้น
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชายอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวนมได้ เช่น หัวนมยุบบุ๋มลงไป หรือมีของเหลวไหลออกจากปลายหัวนม
เมื่อใดควรเข้าพบแพทย์
คุณควรพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณเสมอหากคุณสังเกตเห็นก้อนเนื้อในเต้านมของคุณ หรือคุณมีปัญหาบริเวณหัวนม เช่น ของเหลวไหลออกมา
แม้ว่าอาการเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากมะเร็งเต้านม แต่ก็ควรตรวจสอบให้ละเอียดแน่ชัด
เหตุใดจึงเกิดมะเร็งเต้านมในเพศชาย
สาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมในเพศชายยังไม่มีข้อมูลระบุชัดเจน แต่ปัจจัยที่ทำให้โอกาสในการเกิดโรคมะเร็งดังกล่าวเพิ่มขึ้น ได้แก่ :
- อายุ – ส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ชายอายุเกิน 60 ปี
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมโดยอาจเป็นในเพศชายหรือเพศหญิงก็ได้
- โรคอ้วน – ดัชนีมวลกาย (BMI) มีค่าเท่ากับ 30 หรือมากกว่า
การรักษาโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย
ในกรณีส่วนใหญ่จะใช้การผ่าตัดในการกำจัดก้อนมะเร็งพร้อมกับส่วนหนึ่งของเต้านมออกไป ซึ่งอาจตามมาด้วยฮอร์โมนบำบัดระยะยาวโดยใช้ยาซึ่งโดยปกติจะเป็นยาที่ชื่อว่า tamoxifen
Tamoxifen ช่วยยับยั้งฤทธิ์ของฮอร์โมนที่ทราบกันดีว่าสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในเนื้อเยื่อเต้านม ซึ่งจะช่วยป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำได้
ในบางกรณีการรักษาด้วยรังสีรักษาหรือเคมีบำบัดอาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน
ขอบคุณข่าวที่มาจาก >> honestdocs